ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

จรัล มโนเพ็ชร

จรัล มโนเพ็ชร (1 มกราคม พ.ศ. 2498 — 3 กันยายน พ.ศ. 2544) เป็นศิลปินชาวไทย ผู้เป็นทั้งนักร้อง นักดนตรี นักแต่งเพลง และนักแสดง ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุคสมัย

งานดนตรีของจรัลมีเอกลักษณ์จากการสร้างสรรค์ภาษาถิ่นเหนือ คำเมือง ของเขาซึ่งเรียกว่า “โฟล์คซองคำเมือง” ที่ก่อเกิดขึ้นนับแต่ปี พ.ศ. 2520 และได้รับความสนใจจนเป็นที่ยอมรับ และกลายเป็นแบบอย่างบนแนวทางดนตรีท้องถิ่นร่วมสมัยในปัจจุบัน

โฟล์คซองคำเมืองของจรัลไม่เพียงได้รับความนิยมชมชอบจากชาวเหนือหรือชาวล้านนา ซึ่งเข้าใจภาษาคำเมืองภาษาท้องถิ่นของตน แต่ยังเป็นที่ชื่นชอบของชาวไทยภาคอื่น ๆ ไปจนถึงชาวต่างชาติที่สนใจในศิลปะการดนตรี เอกลักษณ์ของเขาทั้งในการแต่งเพลง ร้องเพลง และเล่นดนตรี ทำให้จรัลได้รับการยกย่องให้เป็น “ราชาโฟล์คซองคำเมือง” จรัลแต่งเพลงไว้กว่าสองร้อยเพลงในช่วงเวลาราวยี่สิบห้าปีของชีวิตศิลปินของเขา เป็นบทเพลงที่งดงามด้วยการใช้ภาษาเยี่ยงกวี จนทำให้เขาได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อปี พ.ศ. 2537 ในฐานะ “บุคคลดีเด่นทางด้านการใช้ภาษา”

แม้จรัลจะเสียชีวิตไปแล้วแต่บทเพลงของเขานับร้อยเพลงนั้นยังคงเป็นอมตะ ผู้คนยังคงฟังเพลงของเขาอยู่ไม่เสื่อมคลาย

จรัล มโนเพ็ชร เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ ในย่านที่เรียกว่าประตูเชียงใหม่ พ่อของเขาเป็นข้าราชการอยู่ที่แขวงการทางจังหวัดเชียงใหม่ ชื่อ สิงห์แก้ว มโนเพ็ชร ส่วนแม่ชื่อ เจ้าต่อมคำ (ณ เชียงใหม่) มโนเพ็ชร สืบเชื้อสายมาจากราชตระกูล ณ เชียงใหม่

จรัลเกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2498 เป็นลูกคนที่สอง มีพี่น้องชายหญิงรวมทั้งหมด 7 คน ครอบครัวเป็นชนชั้นกลาง มีชีวิตเรียบง่ายสมถะตามแบบวิถีชีวิตชาวเหนือทั่วไป ใฝ่ใจในพุทธศาสนา ทั้งพ่อและแม่ของจรัลจะไปทำบุญและร่วมงานพิธีทางศาสนาอยู่เสมอที่วัดใกล้บ้าน คือ วัดฟ่อนสร้อย ซึ่งเป็นวัดที่ครอบครัวนี้มีศรัทธาอย่างยิ่ง ด้วยครอบครัวมโนเพ็ชรเป็นครอบครัวใหญ่ พ่อของจรัลจึงต้องหารายได้พิเศษ ความที่เป็นคนมีฝีมือในด้านงานศิลปะหัตถกรรมท้องถิ่นที่สืบทอดตกมาจากบรรพบุรุษชาวเหนือ ทั้งการเขียนรูป และการแกะสลักไม้ พ่อของจรัลจึงมีรายได้เพียงพอที่จะเลี้ยงดูครอบครัว จรัลเองในเวลานั้นแม้จะอยู่ในวัยเด็ก แต่บางครั้งเมื่อพ่อมีงานพิเศษล้นมือจรัลจะเป็นผู้ช่วยพ่อของเขา ทั้งงานเขียนรูปและงานแกะสลักไม้

จรัลเข้าเรียนหนังสือครั้งแรกที่โรงเรียนพุทธิโสภณ แล้วจึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนเมตตาศึกษา จากนั้นจึงสอบเข้าเรียนในขั้นอุดมศึกษาที่วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จรัลฝึกเล่นกีตาร์มาตั้งแต่เด็กเพราะความชอบในดนตรี ทั้งจากที่เขาได้ฟังทางสถานีวิทยุในเชียงใหม่ และจากพวกมิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในภาคเหนือ ระหว่างที่เรียนอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ จรัลช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวด้วยการทำงานเพื่อหารายได้พิเศษโดยไม่ต้องรบกวนเงินทองจากทางบ้าน เขาเริ่มต้นด้วยการรับจ้างร้องเพลงและเล่นกีตาร์ตามร้านอาหาร หรือตามคลับตามบาร์ในเชียงใหม่ ซึ่งในเวลานั้นยังมีอยู่เพียงไม่กี่แห่ง แนวดนตรีที่เขาชอบเป็นพิเศษคือดนตรีโฟล์ค คันทรี และบลูส์ ที่ต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจและมีอิทธิพลอย่างยิ่งในการแต่งเพลงของเขา

เมื่อจบการศึกษาจากวิทยาลัย จรัลเข้าทำงานรับราชการเป็นงานแรกที่แขวงการทางอำเภอพะเยา (เวลานั้นพะเยายังไม่ได้รับการยกให้เป็นจังหวัดเหมือนในปัจจุบัน) ต่อมาจึงย้ายไปทำงานที่บริษัทไทยฟาร์มมิ่ง และที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จรัลยังคงทำงานประจำไปด้วยควบคู่กับการร้องเพลงตามร้านอาหาร ตามโรงแรมและคลับบาร์ในเชียงใหม่

ต่อมาใน ปี พ.ศ. 2520 เมื่อบทเพลงโฟล์คซองคำเมืองของเขาเผยแพร่ไปทั่วประเทศ เพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือเพลงที่ชื่อ อุ๊ยคำ ซึ่งเวลานั้นเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากบทเพลงของ ปีเตอร์ พอล แอนด์ แมรี นอกจากนั้นยังมีศิลปินต่างชาติอีกหลายคนที่เป็นต้นแบบการเล่นดนตรีของจรัล เช่น บ็อบ ดีแลน, จอห์น เดนเวอร์, นิตตี้ กริทที้ เดิร์ท แบนด์, วิลลี่ เนลสัน, จิม โครเชต์ และ พอล ไซมอน & อาร์ท การ์ฟังเกล ซึ่งส่งผลไปถึงการทำงานโฟล์คซองคำเมืองอันเป็นดนตรีในรูปแบบของจรัลเอง

จรัลก็เหมือนวัยรุ่นทั่วไปในยุคนั้นที่ได้ยินได้ฟังดนตรีจากอเมริกาและอังกฤษที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยตามสมัยนิยม แต่จรัลไม่เพียงชื่นชอบเสียงดนตรีจากต่างประเทศ เขายังชื่นชอบบทเพลงสมัยก่อนแต่โบราณของชาวล้านนาอย่างยิ่ง เมื่อจรัลเริ่มต้นแต่งเพลง บทเพลงของเขาจึงเป็นการผสมผสานแนวดนตรีตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แม้จะเป็นการผสมผสานศิลปะดนตรีของตะวันออกกับตะวันตกก็ตาม แต่งานดนตรีของจรัลก็แฝงด้วยลักษณะท้องถิ่นล้านนาที่ชัดเจน ทั้งท่วงทำนองและเนื้อหาของบทเพลงที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวล้านนาตั้งแต่ยุคแรกที่ทำให้จรัลมีชื่อเสียงขึ้นมา และแม้เวลาจะผ่านไป บทเพลงของจรัลเริ่มที่จะเป็นลักษณะสากลแต่เขาก็ไม่เคยละทิ้งบทเพลงพื้นบ้านของล้านนา

บทเพลงคำเมืองของเขาแพร่กระจายไปทั่วในปี พ.ศ. 2520 แต่บรรดาครูเพลงในล้านนาที่จรัลมักเรียกว่า ฤๅษีทางดนตรี ต่างก็พากันวิพากษ์วิจารณ์งานของเขาซึ่งแปลกแตกต่างไปจากดนตรีล้านนาที่เคยได้ยินได้ฟังกันมา เพราะจรัลใช้กีตาร์ และแมนโดลินมาแทนเสียงซึง ใช้ขลุ่ยฝรั่งแทนขลุ่ยไทย และเขายังใช้เครื่องดนตรีสมัยใหม่อีกมากมายมาบรรเลงบทเพลงเก่าแก่ของล้านนาตามแบบฉบับโฟล์คซองคำเมืองของเขา จรัลพูดว่า “บทเพลงแบบเก่าๆนั้นมีคนทำอยู่มากแล้วและก็ไม่สนุกสำหรับผมที่จะไปเลียนแบบของเก่าเสียทุกอย่าง”

การเป็นคนนอกคอกที่กล้าพอที่จะสร้างสรรงานดนตรีซึ่งแตกต่างจากงานเก่า ๆ ตามแบบของศิลปินนี้เอง ที่ส่งผลให้บทเพลงเก่าแก่ของล้านนากลับมาได้รับความสนใจจากวัยรุ่นในยุคนั้น แทนที่จะหายไปตามกาลเวลาและสมัยนิยม จรัลได้รับการยกย่องอย่างสูงว่าเป็นนักแต่งเพลงฝีมือเยี่ยม ที่แม้บรรดาศิลปินเพลงด้วยกันต่างก็ยอมรับ เขาเชียวชาญการแต่งเพลงหลายรูปแบบแต่ที่ยอดเยี่ยมที่สุดคือบทเพลงแบบบัลลาด ซึ่งเป็นบทเพลงที่บอกเล่าเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนของท้องถิ่นล้านนาอันเป็นบ้านเกิดของเขา จรัลพูดถึงการแต่งเพลงเองร้องเพลงเองของเขาว่า….. '“มันเป็นงานที่เป็นตัวตนจริงๆแท้ๆจากใจ ในเมื่อผมเป็นนักร้องแต่ไม่อยากร้องเพลงของคนอื่น ผมจึงต้องเขียนเพลงของตัวเอง เป็นเพลงที่ผมอยากร้อง มันทำให้ได้เป็นตัวของตัวเองเต็มที่ ไม่ต้องอาศัยให้ใครมาสร้างภาพลักษณ์”'

ในยุคแรกๆนั้นจรัลทำงานดนตรีร่วมกับพี่น้องและญาติๆของเขาในตระกูลมโนเพ็ชร คือน้องชายสามคนที่ชื่อ กิจจา – คันถ์ชิด และเกษม รวมทั้งมักจะมีนักร้องหญิงชื่อสุนทรี เวชานนท์ ร่วมร้องเพลงด้วย แต่ต่อมาทั้งหมดก็แยกทางกันไปตามวิถีของแต่ละคน น้องชายทั้งสามของเขาต่างก็ยังคงเล่นดนตรีและร้องเพลง โดยที่ส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯนั่นเอง ส่วนสุนทรี เวชานนท์ แต่งงานกับชายชาวออสเตรเลียจึงโยกย้ายไปอยู่ต่างประเทศระยะหนึ่ง เมื่อกลับมาเมืองไทยอีกครั้งก็ได้เกิดเรื่องความบาดหมางระหว่างจรัลกับสุนทรีจนทำให้ไม่อาจร่วมงานกันได้อีกต่อไป จรัลเองถึงกับประกาศว่าจะไม่ขอขึ้นเวทีร้องเพลงร่วมกับสุนทรีอีก และเขาก็ได้ทำเช่นนั้นตราบจนวันตายจริงๆ

ในช่วงบั้นปลายของชีวิตราวสิบปีก่อนที่จรัลจะเสียชีวิต งานดนตรีของเขาจึงเป็นการทำงานเพียงลำพังอย่างแท้จริง แต่ด้วยความสามารถอันสูงส่งของเขา งานดนตรีของจรัลกลับพัฒนายิ่งขึ้น โดยที่เขายังคงแต่งเพลงเอง ร้องเอง เล่นดนตรีเอง และจรัลยังเรียบเรียงเสียงดนตรีเองอีกด้วย จนทำให้เขาได้รับรางวัลดนตรี สีสันอวอร์ด ในปี พ.ศ. 2538 โดยเป็นศิลปินชายเพียงคนเดียวที่ได้รับรางวัลถึงสามรางวัลในครั้งนั้น นั่นก็คือในฐานะนักร้องชายยอดเยี่ยม จากเพลงศิลปินป่า อัลบั้มยอดเยี่ยม จากอัลบั้มชุดศิลปินป่า และบทเพลงยอดเยี่ยมจากงานชุดศิลปินป่า

เมื่อจรัลโยกย้ายจากจังหวัดเชียงใหม่ไปอยู่ที่กรุงเทพฯ นอกจากมีกิจการร้านอาหารและทำงานเพลงแล้ว บางครั้งจรัลยังรับแสดงหนังและละคร อีกทั้งยังแต่งเพลงประกอบภาพยนตร์และละครเหล่านั้นด้วย ความสามารถในด้านนี้ทำให้ต่อมาจรัลได้รับรางวัลทางด้านการแสดงอีกหลายรางวัลทีเดียว ในปี พ.ศ. 2539 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีการจัดทำดนตรีเรียกว่าดนตรีจตุรภาค โดยรวบรวมนักดนตรีฝีมือเยี่ยมจากทั่วทุกภาคในประเทศมาแต่งเพลงเพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสนี้ จรัลเองขณะนั้นมีอายุเพียงสี่สิบห้าปีเท่านั้นแต่ก็ได้รับเชิญในฐานะครูเพลงภาคเหนือ เขาแต่งเพลงชื่อว่า ฮ่มฟ้าปารมี เป็นเพลงที่ไพเราะมาก จนทำให้ต่อมาแพร่หลายในวงกว้าง และในที่สุดสถาบันการศึกษาด้านศิลปะการดนตรีในจังหวัดเชียงใหม่ ได้นำเพลงนี้ไปใช้ประกอบการสอนในสาขานาฏศิลป์ด้วย และปัจจุบันนี้ได้มีผู้คิดท่าฟ้อนรำสำหรับบทเพลงนี้เช่นกัน เรียกว่า ฟ้อนฮ่มฟ้าปารมี ช่วงชีวิตการทำงานศิลปะการดนตรีของจรัลเริ่มในปี พ.ศ. 2520 และสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2544 เมื่อจรัลเสียชีวิตจากการที่หัวใจล้มเหลวฉับพลัน โดยที่ก่อนเสียชีวิตนั่นเองจรัลกำลังตั้งใจที่จะทำงานเพลงในโอกาสที่โฟล์คซองคำเมืองของเขายืนยาวมาถึงยี่สิบห้าปีแห่งการทำงานเพลง เขาตั้งใจใช้ชื่อว่า 25 ปี โฟล์คซองคำเมือง จรัล มโนเพ็ชร

ข่าวการเสียชีวิตของจรัลจากการที่หัวใจล้มเหลวฉับพลัน เมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2544 จังหวัดลำพูน สร้างความตื่นตะลึงไปทั่วประเทศ ผู้คนจำนวนมากจากทุกวงการเดินทางไปคารวะศพของเขา ซึ่งตั้งบำเพ็ญกุศลอยู่ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหารเป็นเวลาห้าวัน พวงหรีดที่มีผู้นำไปแสดงความเคารพและคารวะศพของจรัลมีเป็นจำนวนมากจนกระทั่งไม่มีที่วาง ทางวัดจึงต้องนำไปแขวนไว้บนกำแพงวัดทั้งด้านในและด้านนอก นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นคือ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ส่งพวงหรีดดอกไม้สดมา และรวมทั้งอดีตนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย หรือแม้แต่รัฐมนตรีตามกระทรวงต่าง ๆ และสมาชิกรัฐสภา

หลังการเสียชีวิตของจรัล มโนเพ็ชร นอกจากการขนานนามที่เขาได้รับมาตลอดว่าเป็น ราชาโฟล์คซองคำเมือง แล้ว ผู้คนได้ยกย่องและเรียกเขาด้วยชื่อต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ศิลปินล้านนาแห่งยุคสมัย ศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ มหาคีตกวีล้านนา ราชันย์แห่งดุริยะศิลป์ นักวิชาการและนักอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมยกย่องให้ จรัล มโนเพ็ชร เป็นนักรบวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น

ก่อนเสียชีวิตไม่นานจรัล มโนเพ็ชร ได้รับเชิญจากรัฐบาลให้เป็นที่ปรึกษางานด้านวัฒนธรรม ซึ่งจรัลได้ตอบตกลงไปแล้ว แต่ก่อนที่การประชุมครั้งแรกจะเกิดขึ้นจรัลก็เสียชีวิตไปก่อน

ลือชัย นฤนาท • สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์ • ทักษิณ แจ่มผล• มิตร ชัยบัญชา • จิตรกร สุนทรปักษิณ • ไชยา สุริยัน • ไชยา สุริยัน • ไชยา สุริยัน • สมบัติ เมทะนี • นาท ภูวนัย • สรพงศ์ ชาตรี • สรพงศ์ ชาตรี • จตุพล ภูอภิรมย์ • ล้อต๊อก • ปิยะ ตระกูลราษฎร์ • สรพงศ์ ชาตรี • อำพล ลำพูน • รณ ฤทธิชัย • บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ • ลิขิต เอกมงคล • สันติสุข พรหมศิริ • บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ • ฉัตรชัย เปล่งพานิช • ลิขิต เอกมงคล / สามารถ พยัคฆ์อรุณ • บิลลี่ โอแกน • สรพงศ์ ชาตรี • จอนนี่ แอนโฟเน่ • ธงไชย แมคอินไตย์ • สรพงศ์ ชาตรี • สัญญา คุณากร • อำพล ลำพูน • อำพล ลำพูน • บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์ • สมชาย เข็มกลัด • ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ • ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์ • ชาลี ไตรรัตน์ • เดวิด อัศวนนท์ • ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180